การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับทดสอบโรคออทิสติกในเด็กก่อนวัยเรียน

การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับทดสอบโรคออทิสติกในเด็กก่อนวัยเรียน
(ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์อิสระบนเว็บประชาไท เรื่อง “พัฒนาแอปพลิเคชันทดสอบโรคออทิสติกในเด็กก่อนวัยเรียน เชื่อวินิจฉัยเร็วรักษาได้ดีขึ้น“)

นักศึกษาและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยบัฟฟาโล ร่วมพัฒนาแอปพลิเคชันหาความเสี่ยงภาวะออทิสติกในเด็ก หลังพบว่าพ่อแม่มักรู้ช้า-รักษาหลังเข้าโรงเรียน ชี้แอปพลิเคชันนี้แม่นยำ-ใช้งานง่าย-ไม่มีข้อจำกัดด้านภาษา

การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับทดสอบโรคออทิสติกในเด็กก่อนวัยเรียน

เว็บไซต์มหาวิทยาลัยบัฟฟาโล รายงานการพัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อประเมินความเสี่ยงภาวะโรคออทิศติกในเด็ก ผ่านการใช้งานบนอุปกรณ์สมาร์ทโฟน โดยเชื่อว่า การตรวจพบและวินิจฉัยได้เร็วจะช่วยให้การรักษาและพัฒนาการเรียนรู้เป็นไปได้ดีขึ้น

ผู้ปกครองของเด็กพิการออทิสติกจำนวนมาก ไม่รู้สัญญาณของโรคจนกว่าเด็กจะเข้าโรงเรียน ความล่าช้านี้ ทำให้การรักษาฟื้นฟูเกิดขึ้นไม่ทันถ่วงที นักศึกษาและอาจารย์จาก University at Buffalo: State University of New York College จึงได้ทำการทดลอง และพัฒนาแอพลิเคชัน โดยKathy Ralabate Doody หนึ่งในทีมงานผู้ช่วยวิจัยกล่าวว่า งานของเธอคือการสร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เพื่อช่วยให้เด็กออทิสติกเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียมกับเด็กที่ไม่มีปัญหาทางการเรียนรู้

“สมองของเราโตขึ้น และพัฒนาไปเรื่อยๆ หลังจากเกิด หากสามารถวินิจฉัยโรคได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะสามารถให้คำแนะนำปรึกษาแก่ครอบครัว และหาแนวทางในการรักษา รวมทั้งกระตุ้นพัฒนาการได้เร็วขึ้นเท่านั้น” มิเชล ฮาทเลย์ แมคแอนดรูว ผู้ช่วยศาสตราจารย์หน่วยกุมารเวชศาสตร์และประสาทวิทยา วิทยาลัยแพทย์และชีวการแพทย์ ‘เจคอป’ และผู้อำนวยการมูลนิธิเด็กออทิสติก ของศูนย์เด็กและผู้หญิงของโรงพยาบาลบัฟฟาโลกล่าว

คุน วู ชู หนึ่งในนักพัฒนาแอปพลิเคชัน เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์กล่าวว่า ขณะนี้ความคืบหน้าอยู่ในขั้นการทดลองใช้ เพื่อประเมินภาวะออทิสติก โดยใช้หลักการของการจ้องมองหน้าจอ เมื่อมีการมอง แอปพลิเคชันจะจดจำการทำงานของสายตา จับการเคลื่อนไหวของลูกตาเมื่อผู้ใช้มองไปยังภาพที่ปรากฏอยู่บนจอที่แสดงฉากประกอบสถานการณ์ต่างๆ และใช้โปรแกรมการคำนวณทิศทางเพื่อวิเคราะห์ ที่เรียกว่า Gaze-Wasserstein หากมีภาวะออทิสติก การเคลื่อนไหวลูกตาจะแตกต่างจากคนที่ไม่มีภาวะ แอปพลิเคชันนี้สามารถบอกได้แม่นยำถึงร้อยละ 93.96

นอกจากนั้น พวกเขายังชี้ข้อดีอีก 2 ข้อคือ แอปพลิเคชันนี้สามารถใช้งานที่บ้านได้ง่ายโดยผู้ดูแล และไม่ต้องพึ่งพาการทดลองในห้องแลปที่ยุ่งยาก อีกทั้งยังทลายข้อจำกัดทางด้านภาษาและวัฒนธรรมอีกด้วย

“แม้ตอนนี้แอปพลิเคชันดังกล่าวจะยังเป็นเพียงตัวต้นแบบ และวินิจฉัยได้เพียงภาวะโรคออทิสติก แต่พวกเราหวังว่า ในอนาคต โรคระบบประสาทอื่นๆ อย่างสมาธิสั้น ก็จะสามารถใช้ประโยชน์จากมันได้ด้วย” ชูกล่าว

“ความพิเศษของแอปพลิเคชันนี้คือ พ่อแม่สามารถใช้มันที่บ้าน เพื่อหาความเสี่ยงของโรคกลุ่มออทิสติก ซึ่งจะช่วยให้หาทางรักษาและพัฒนาได้เร็วขึ้น” ซูกล่าว

ภาวะกลุ่มโรคออทิสติกเกิดขึ้นใน 1-2 คนต่อ 1,000 คนทั่วโลก ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคระบุว่า ในสหรัฐอเมริกา เด็ก 1 ใน 68 คน มีภาวะของโรคกลุ่มโรคออทิสติก

จากเด็ก 32 คน อายุตั้งแต่ 2-10 ปี ในกลุ่มทดลอง ที่ทดลองใช้แอปพลิเคชัน ครึ่งหนึ่งถูกวินิจฉัยว่ามีภาวะออทิสติกก่อนหน้านี้ และเด็กอีกครึ่งไม่มีภาวะออทิสติก พบว่า รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับบริบททางสังคมจะให้ผลที่แตกต่าง หากทดสอบในกลุ่มเด็กที่เป็นและไม่เป็นออทิสติก โดยเด็กที่เป็นออทิสติกจะไม่สามารถโฟกัส หรือมองตามกิจกรรมที่กำลังเกิดขึ้นตรงหน้า สายตาของพวกเขาจะกวาดไปรอบๆ อย่างกระจัดกระจาย ไร้โฟกัส

“เราคาดว่า ผลลัพธ์นี้เกิดจากการที่พวกเขาไม่สามารถตีความ และเข้าใจบริบทต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมได้” ชูกล่าว

แอปพลิเคชันกินเวลาทั้งหมด 54 วินาทีในการใช้งาน น้อยกว่าการทดสอบอื่น จึงทำให้มันเหมาะกับการใช้งานของเด็ก เพราะเด็กมักมีสมาธิกับอะไรได้ไม่นาน นอกจากนี้ ซูเสริมว่า งานชิ้นนี้เป็นสหวิทยาการขั้นสูง เพราะสามารถผนวกตัวเองให้เข้ากับการใช้งานคอมพิวเตอร์และการคำนวนของนักจิตวิทยาได้อย่างแนบเนียน ซ้ำยังช่วยลดช่องว่าง ของคนที่เป็นโรคออทิสติก ให้ได้เข้าถึงการวินิจฉัยและรักษาอย่างเร็วที่สุดอีกด้วย

ฮาทเลย์ แมคแอนดรูวกล่าวว่า ปัจจุบัน มีงานวิจัยหลายชิ้นที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อตรวจสอบภาวะออทิสติก แม้จะยังไม่มีหลักการที่ชัดเจนเพื่อใช้วัด นอกเหนือจากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ แต่ก็เห็นได้ว่า มีความพยายามทำมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นค่ากลางในการทดสอบ

แปลและเรียบเรียงจาก
Smartphone app for early autism detection being developed by UB undergrad

# การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับทดสอบโรคออทิสติกในเด็กก่อนวัยเรียน

Comments are closed.
บริจาคเพื่อมูลนิธิฯ INFO
ขอเชิญร่วมใจบริจาคเพื่อสนับสนุนมูลนิธิเพื่อการศึกษาพิเศษในพระราชูปถัมภ์ฯ
ดูรายละเอียด