Download บทความ เรื่อง “กิจกรรมสำหรับเด็กเล็ก: ฝึกพัฒนาการ (Activities for Young Children: Providing Practice for Development)” …คลิกที่นี่ผู้แปลและเรียบเรียง: นายประเสริฐ ตันสกุล
Read more
Download บทความ เรื่อง “การช่วยเหลือในระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความล่าช้าทางการพูดและภาษา” …คลิกที่นี่ผู้แปลและเรียบเรียง: นายประเสริฐ ตันสกุล
Read more
Download บทความ เรื่อง “มารู้จักปัญหาการเรียนรู้ของเด็ก (LD) กันเถอะ” …คลิกที่นี่ ผู้แปลและเรียบเรียง: นายประเสริฐ ตันสกุล
Read more
Download บทความ เรื่อง “สัญญาณบอกเหตุที่สังเกตได้” …คลิกที่นี่ผู้แปลและเรียบเรียง: นายประเสริฐ ตันสกุล
Read more
Download บทความ เรื่อง “ความบกพร่องทางการเรียนรู้” …คลิกที่นี่ ผู้แปลและเรียบเรียง: นายประเสริฐ ตันสกุล
Read more
เรื่องตลกของชายสามคนเดินคุยกันชายคนแรกพูดว่า “ลมแรงจังเลยนะ”ชายคนที่สองตอบว่า “ไม่ใช่….วันนี้เป็นวันพฤหัส”ชายคนที่สามพูดว่า “เหมือนผมเลย..ไปดื่มเบียร์กันเถอะ” ในความเป็นจริง..กลับไม่ใช่เป็นเรื่องตลก 40% ของผู้ที่มีอายุ 55-74 ปี มีความลำบากในการฟังจากความเลื่อมของการได้ยินที่เกิดขึ้นตามอายุ (International Journal of Audiology) 80% ของผู้ที่มีปัญหาการได้ยินที่ได้รับประโยชน์จากการใส่เครื่องช่วยฟัง ไม่สนใจใส่เครื่องช่วยฟัง 25% ของผู้ที่ซื้อเครื่องช่วยฟังมาใช้ โดยเฉพาะในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ไม่หยิบออกมาใส่ ทำไมจึงไม่ใส่เครื่องช่วยฟัง? เหตุผลที่เห็นชัดคือ เครื่องช่วยฟังไม่ได้ช่วยให้เขาได้ยิน โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่อึกทึก ในที่มีคนเยอะ เครื่องช่วยฟังต้องใส่แบตเตอรี่ซึ่งมีราคาแพง การหยิบถ่านเครื่องช่วยฟังใส่ในรังถ่านเครื่องช่วยฟังหรือการหมุนปรับเพิ่ม-ลด Volumn เสียง เป็นความยากลำบาก ยิ่งโดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่กล้ามเนื้อมือไม่คล่องแคล่ว การใส่เครื่องช่วยฟังจึงกลายเป็นความรู้สึกไม่สบาย รำคาญ หงุดหงิด เหตุผลด้านอารมณ์ เช่น ความรู้สึกว่าเครื่องช่วยฟังเป็นสัญลักษณ์ของคนแก่ เป็นสัญลักษณ์ของความเสื่อมความสามารถ การใส่เครื่องช่วยฟังไม่เหมือนการใส่แว่นตา เราเห็นเด็กวัยรุ่นใส่แว่นตา แต่เราไม่เห็นวัยรุ่นใส่เครื่องช่วยฟัง หรือการถือไม้เท้า ที่บางคนปฏิเสธการใช้ไม้เท้า แต่เลือกที่จะนั่งรถเข็น 
Read more
หลังจากที่คุณอาบน้ำ ว่ายน้ำ หรือเล่นกิจกรรม กีฬาทางน้ำที่ทำให้บริเวณหูของคุณเปียก ให้รอประมาณครึ่งชั่วโมงก่อนใส่เครื่องช่วยฟัง เพื่อให้ช่องหู และผิวหนังบริเวณช่องหู แห้งมากที่สุด ป้องกันไม่ให้ความชื้นในช่องหู ผ่านเข้าไปยังเครื่องช่วยฟังของคุณ กรณีที่คุณใส่เครื่องช่วยฟังเดินอยู่แล้วฝนเกิดตกหนักลงมาจนศีรษะเปียก สิ่งแรกที่ต้องทำคือปิดเครื่อง ถอดเครื่องช่วยฟังออก ถอดแบตเตอรี่เครื่องช่วยฟังออกจากรังถ่าน และนำเครื่องช่วยฟังใส่ในเครื่องอบไล่ความชื้น อย่างน้อย 3 ชั่วโมง อย่าเป่าด้วยไดร์เป่าผมลมร้อน อย่านำเครื่องเข้าเตาอบ หรือนำเข้าเครื่องไมโครเวฟเด็ดขาด หลังสามชั่วโมง หากคุณพบว่าเครื่องช่วยฟังมีเสียงช๊อต หรือไม่มีเสียงเลย ขอให้นำเครื่องช่วยฟังไปที่ศูนย์บริการที่คุณซื้อเครื่องช่วยฟังมา ..ขอให้โชคดี ทุกครั้งที่คุณถอดเครื่องช่วยฟังออกเก็บก่อนนอน หรือก่อนอาบน้ำ ขอให้นำเครื่องช่วยฟังใส่ไว้ในเครื่องอบไล่ความชื้น หรือในภาชนะเก็บที่มิดชิดห่างจากมือเด็ก และสัตว์เลี้ยง และควรอยู่ในตำแหน่งเดิมที่คุณเก็บประจำ การวางเครื่องช่วยฟังไว้ในตำแหน่งเดิมจะทำให้คุณไม่กระวนกระวาย หรือตื่นตระหนกกรณีที่คุณจำเป็นต้องหยิบเครื่องช่วยฟังออกมาใส่เร่งด่วน ซึ่งคุณอาจจำไม่ได้ว่าคุณวางเครื่องช่วยฟังไว้ที่ไหน …อย่าลืมเก็บแบตเตอรี่เครื่องช่วยฟัง ไว้ข้างๆด้วยหละ.. เมื่อคุณซื้อเครื่องช่วยฟังเครื่องใหม่ คุณอาจจะรู้สึกเหมือนว่าทุกอย่างรอบตัวคุณ มีเสียงดังมาก ดูเหมือนคุณจะได้ยินคนที่นั่งทานอาหารโต๊ะข้างๆ เคี้ยวเสียงดัง เสียงช้อนกับส้อมกระทบกันขณะทานอาหาร ก็แทบจะทำให้คุณอยากบอกลูกๆ และภรรยาของคุณให้ทานข้าวด้วยมือ 
Read more
งานวิจัยพบว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างความบกพร่องทางการได้ยินกับความบกพร่องของสมรรถนะทางสมอง (Cognitive impairment) และพบว่าถ้าความเสื่อมหรือความบกพร่องทางการการได้ยินได้ถูกตรวจพบและได้รับการช่วยเหลือเร็วเท่าไหร่ อาจจะสามารถทำให้การรับรู้ทางสติปัญญาดีขึ้น หรือยืดความเสื่อมสมรรถนะทางสมองออกไปได้ มีความเชื่อมโยงระหว่างความบกพร่องของการได้ยินกับความเสื่อมของสมรรถนะทางสมอง โดยทั่วไปเมื่อคนเราอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ความเสื่อมของร่างกายและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ มักส่งผลให้การรับฟังและสมรรถนะทางสมองค่อยๆ เสื่อมลง ความบกพร่องของการได้ยิน (ระดับมากกว่า 20 เดซิเบล) เกิดขึ้น 40% ในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และเกิดขึ้น 80% ในผู้มีอายุเกิน 85 ปีขึ้นไป ซึ่งพบว่าความเสื่อมดังกล่าวเชื่อมโยงกับความบกพร่องของสมรรถนะทางสมอง ข่าวดีก็คือว่าความเสื่อมของการได้ยินสามารถช่วยเหลือได้ด้วยการใส่เครื่องช่วยฟัง ถ้าหากพิจารณาดูอย่างจริงจังแล้ว ดูเหมือนเราจะพลาดการเข้าถึงวิธีง่ายๆ ที่ช่วยให้เรายืดเวลา หรือมีโอกาสคงสมรรถนะทางสมองไว้ให้เสื่อมช้าลงได้ เนื่องจากพบว่าผู้สูงอายุได้รับการใส่เครื่องช่วยฟัง เป็นสัดส่วนน้อย การได้ยินมี 2 domain หลักคือ การได้ยินที่เกิดจากการนำเสียงผ่านอวัยวะการได้ยิน เช่น หูชั้นนอก หูชั้นกลาง หูชั้นใน และการประมวลเสียงจากระบบประสาทส่วนกลาง 
Read more
บริจาคเพื่อมูลนิธิฯ INFO
ขอเชิญร่วมใจบริจาคเพื่อสนับสนุนมูลนิธิเพื่อการศึกษาพิเศษในพระราชูปถัมภ์ฯ
ดูรายละเอียด